เมนู

คือความเพียร. บทว่า อุสฺสาโห คือความเพียรยิ่งกว่าวายามะนั้น บทว่า
อุสฺโสฬฺหี ความว่า ความเพียรมาก เสมือนยกเกวียนที่ติดหล่ม. บทว่า
อปฺปฏิวานี ได้แก่ ไม่ถอยกลับ.
จบอรรถกถาทุติยสมาธิสูตรที่ 3

4. ตติยสมาธิสูตร


ว่าด้วยบุคคล 4 จำพวก ที่ 3


[94] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวกนี้ ฯลฯ คือบุคคล
บางคนในโลกนี้เป็นผู้ได้ความสงบใจในภายใน แต่ไม่ได้อธิปัญญาและ
ธัมมวิปัสสนา ฯลฯ บางคนได้ทั้งความสงบใจในภายใน ทั้งอธิปัญญาและ
ธัมมวิปัสสนา
ในบุคคล 4 จำพวกนั้น บุคคลใดที่ได้ความสงบใจในภายใน แต่
ไม่ได้อธิปัญญาและธัมมวิปัสสนา บุคคลนั้นควรเข้าไปหาบุคคลผู้ได้อธิปัญญา
และธัมมวิปัสสนาแล้วได้ถามว่า สังขารทั้งหลาย จะพึงเห็นอย่างไร จะพึง
กำหนดอย่างไร จะพึงเห็นแจ้งอย่างไร บุคคลผู้ได้อธิปัญญาและธัมม-
วิปัสสนา ย่อมจะกล่าวแก้แก่บุคคลนั้นตามที่ตนเห็นตามที่ตนรู้ว่า สังขาร
ทั้งหลายพึงเห็นอย่างนี้ พึงกำหนดเอาอย่างนี้ พึงเห็นแจ้งอย่างนี้ ต่อไป
บุคคลนั้น ก็ย่อมจะได้ทั้งความสงบใจในภายใน ทั้งอธิปัญญาและธัมมวิปัสสนา
บุคคลใดที่ได้อธิปัญญาและธัมมวิปัสสนา แต่ไม่ได้ความสงบใจใน
ภายใน บุคคลนั้นควรเข้าไปหาบุคคลผู้ได้ความสงบใจในภายใน แล้วได้ถาม
ว่าจิตจะพึงดำรงไว้อย่างไร พึงน้อมไปอย่างไร พึงทำให้เป็นอารมณ์เดียวอย่างไร

พึงทำให้เป็นสมาธิอย่างไร บุคคลผู้ได้ความสงบใจภายใน ย่อมจะกล่าวแก้
แก่บุคคลนั้นตามที่คนเห็นตามที่ตนรู้ว่า จิตพึงดำรงไว้อย่างนี้ พึงน้อมไปอย่างนี้
พึงทำให้เป็นอารมณ์เดียวอย่างนี้ พึงทำให้เป็นสมาธิอย่างนี้ ต่อไป บุคคลนั้น
ก็ย่อมจะได้ทั้งอธิปัญญาและธัมมวิปัสสนา ทั้งความสงบใจในภายใน
บุคคลใดที่ไม่ได้ทั้งความสงบใจในภายใน ทั้งอธิปัญญาและธัมม-
วิปัสสนา บุคคลนั้นควรเข้าไปหาบุคคลผู้ได้ธรรมทั้ง 2 อย่างนั้น แล้วไต่ถาม
ว่าจิตจะพึงดำรงไว้อย่างไร พึงน้อมไปอย่างไร พึงทำให้เป็นอารมณ์เดียว
อย่างไร พึงทำให้เป็นสมาธิอย่างไร สังขารทั้งหลายจะพึงเห็นอย่างไร พึง
กำหนดเอาอย่างไร พึงเห็นแจ้งอย่างไร บุคคลผู้ได้ธรรมทั้ง 2 อย่างนั้น
ย่อมจะกล่าวแก้แก่บุคคลนั้นตามที่ตนเห็นตามที่ตนรู้ว่า จิตพึงดำรงไว้อย่างนี้
พึงน้อมไปอย่างนี้ พึงทำให้เป็นอารมณ์เดียวอย่างนี้ พึงทำให้เป็นสมาธิอย่างนี้
สังขารทั้งหลายพึงเห็นอย่างนี้ พึงกำหนดอย่างนี้ พึงเห็นแจ้งอย่างนี้ ต่อไป
บุคคลนั้น ก็ย่อมจะได้ความสงบใจภายในทั้งอธิปัญญาและธัมมวิปัสสนา
บุคคลใดที่ได้ทั้งความสงบใจภายใน ทั้งอธิปัญญาและธัมมวิปัสสนา
บุคคลนั้นควรตั้งอยู่ในกุศลธรรมทั้ง 2 นั้น แล้วทำการประกอบความเพียร
เพื่อความสิ้นอาสวะยิ่งขึ้นไป
ภิกษุทั้งหลาย นี้แล บุคคล 4 จำพวก มีปรากฏอยู่ในโลก.
จบตติยสมาธิสูตรที่ 4

อรรถกถาตติยสมาธิสูตร


พึงทราบวินิจฉัยในตติยสมาธิสูตรที่ 4 ดังต่อไปนี้ :-
ในบทว่า เอวํ โข อาวุโส สงฺขารา ทฏฺฐพฺพา เป็นต้น
พึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย ธรรมดาว่าสังขารทั้งหลาย
พึงพิจารณาโดยความเป็นของไม่เทียง พึงกำหนดโดยความไม่เที่ยง พึงเห็น
แจ้งโดยความไม่เที่ยง โดยความเป็นทุกข์ โดยความเป็นอนัตตาก็อย่างนั้น
ดังนี้. แม้ในบทว่า เอวํ โข อาวุโส จิตฺตํ สณฺฐเปตพฺพํ เป็นต้น
พึงเห็นเนื้อความอย่างนี้ว่า ดูก่อนผู้มีอายุทั้งหลาย จิตจะพึงดำรงอยู่ได้ด้วย
อำนาจปฐมฌาน พึงน้อมใจไปด้วยอำนาจปฐมฌาน พึงทำอารมณ์ให้เป็นหนึ่งด้วย
อำนาจปฐมฌาน พึงให้เป็นสมาธิด้วยปฐมฌาน จิตจะพึงดำรงอยู่ได้ด้วยอำนาจ
ทุติยฌานเป็นต้น ก็อย่างนั้นดังนี้. ในพระสูตร 3 สูตรเหล่านี้ ตรัสสมถะ
และวิปัสสนาเป็นโลกิยะและโลกุตระอย่างเดียว.
จบอรรถกถาตติยสมาธิสูตรที่ 4

5. ฉวาลาตสูตร


ว่าด้วยบุคคล 4 จำพวก ที่ 4


[95] ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย บุคคล 4 จำพวกนี้ ฯลฯ คือบุคคล
ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ตนและไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์ผู้อื่นพวก 1 บุคคลปฏิบัติ
เพื่อประโยชน์ผู้อื่น แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อประโยชน์คนพวก 1 บุคคลปฏิบัติเพื่อ